• Sun. Sep 8th, 2024

“สารทจีน-เช็งเม้ง-ตรุษจีน” ต่างกันอย่างไร ทั้งที่ไหว้เจ้า-บรรพบุรุษเหมือนกัน

0 0
Read Time:7 Minute, 45 Second

เมื่อพูดถึงเทศกาลสำคัญของชาวจีน คนอาจนึกถึงการไหว้เจ้าหรือการไหว้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะ “วันสารทจีน”, “วันเช็งเม้ง” และ “วันตรุษจีน” ล้วนเกี่ยวข้องกับการไหว้เจ้าและการไหว้บรรพบุรุษเหมือนกัน

ใกล้ “วันสารทจีน” เข้ามาแล้ว ซึ่งในปี 2566 ตรงกับวันที่ 30 สิงหาคมนี้ ทีมข่าว นิวมีเดีย พีพีทีวี จึงได้รวบรวมความหมาย ตำนานและความเชื่อมาคลายข้อสงสัยให้กับทุกคนกัน ว่าแท้ที่จริงแล้วทั้ง 3 เทศกาลนี้แตกต่างกันอย่างไร

“สารทจีน” วันไหว้บรรพบุรุษที่บ้านในวันที่ประตูทั้ง 3 โลกเปิด

วันสารทจีน เป็นวันสำคัญของลูกหลานชาวจีนที่จะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ด้วยการทำพิธีเซ่นไหว้

ซึ่งจะตรงกับวันเพ็ญ 15 ค่ำเดือน 7 ตามปีปฏิทินทางจันทรคติของจีน ถือเป็นวันที่ประตูสวรรค์จะเปิดให้บรรพบุรุษได้กลับมาเยี่ยมเยียนลูกหลานยังโลกมนุษย์ได้ และยมโลกจะเปิดให้วิญญาณเร่ร่อน หรือผีไร้ญาติทั้งหลาย ขึ้นมารับผลบุญจากมนุษย์ที่อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้ได้

ทำให้ในวันสำคัญนี้ชาวจีนจะจัดชุดไหว้ออกเป็น 3 ชุด คือ ไหว้เจ้าที่, ไหว้บรรพบุรุษ และ ไหว้วิญญาณเร่ร่อน ส่วนมากจะจัดให้ไหว้ที่บ้าน แต่บางคนก็ไปไหว้ที่วัดด้วย

โดยของไหว้หลักๆ ที่ใช้จะประกอบด้วย อาหารคาว ของหวาน ขนมมงคลที่แต้มจุดสีแดง และผลไม้ รวมถึงการเผากระดาษเงินกระดาษทองเป็นสิ่งที่สำคัญในเทศกาลนี้ด้วย

เรียกว่าเทศกาลนี้ เป็นเทศกาลที่สอนให้ลูกหลานได้แสดงความเคารพ รำลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ และยังแสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้กับบรรดาวิญญาณไร้ญาติด้วย ถือเป็นการปลูกฝังเรื่องการแบ่งปันได้อย่างดีเยี่ยม

“เช็งเม้ง” วันไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน

เช็งเม้ง เป็นเทศกาลที่คนจีนเดินทางไปไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน”หรือฮวงซุ้ย”ในช่วงเดือน 3 ของจีน ซึ่งตรงกับฤดูใบไม้ผลิและเป็นช่วงเวลาท้องฟ้าแจ่มใสที่สุด ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดกับการเดินทาง และนั่นก็เป็นที่มาให้เรียกวันสำคัญนี้ว่าเช็งเม้ง”ด้วย เพราะคำว่าเช็ง”แปลว่าสะอาดบริสุทธิ์”และเม้ง”แปลว่าสว่าง”รวมแล้วก็หมายถึงช่วงเวลาที่เหมาะกับการไปไหว้บรรพบุรุษที่หลุมฝังศพ แทนการไหว้ป้ายวิญญาณภายในบ้าน

วันเช็งเม้ง หรือ วันไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน ตรงกับวันที่ 5 เมษายน ของทุกปี ส่วนเทศกาลเช็งเม้ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 2 – 8 เมษายน รวม 7 วัน ปัจจุบันเนื่องจากมีปัญหาเรื่องการจราจร สุสานต่างๆ จึงขยายช่วงเวลาของเทศกาลเช็งเม้งให้ยาวขึ้น คือ ประมาณ 15 มีนาคม – 8 เมษายน

ส่วนเหตุผลที่ต้องมีวันเช็งเม้งนั้น เพราะชาวจีนแต่ก่อนจะไม่เผาร่างของผู้เสียชีวิตแต่จะฝังแทน นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่าแม้จะตายแต่วิญญาณยังอยู่ ดังนั้นในวันดังกล่าวจึงมีทั้งการไหว้เทพเจ้า เพื่อขอบคุณที่ท่านคอยดูแลผืนดินบริเวณนั้นให้ และมีการไหว้บรรพบุรุษด้วยอาหารและข้าวของเครื่องใช้จำเป็นเสมือนให้พวกท่านได้ไปใช้ในอีกภพภูมิ

“ตรุษจีน” วันเฉลิมฉลองปีใหม่ คล้ายวันสงกรานต์ของไทย

“ตรุษจีน” เป็นวันเฉลิมฉลองของการเริ่มต้นปีใหม่ของชาวจีน ตามปีปฏิทินทางจันทรคติของจีน ซึ่งคล้ายคลึงกับวันสงกรานต์ของไทยนั่นเอง เพียงแต่คนละวันเท่านั้น

ตรุษจีน เป็นประเพณีเก่าแก่ที่มีมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว เริ่มแรกจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลใบไม้ผลิ ซึ่งชื่อเดิมของวันตรุษจีนก็ไม่ได้มีชื่อนี้ตั้งแต่แรก มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามยุคตามสมัย โดยเริ่มแรกเรียกว่า “ซุ่ย” ต่อมาก็เรียกว่า “เหนียน” และกลายมาเป็น “วันตรุษจีน” ที่จะมีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ คือ ญาติพี่น้องจะกลับไปรวมตัวกันและประดับประดาตกแต่งบ้านให้เต็มไปด้วยสิ่งของที่มีสีแดงสวยงาม ตามความเชื่อจีนเรื่องปีศาจ“เหนียน”นั่นเอง

สำหรับ “เหนียน” ตามตำนานความเชื่อของชาวจีน ระบุว่า เหนียนเป็นสัตว์ป่าดุร้ายที่โดนพระเจ้าลงโทษ เพราะชอบออกอาละวาดกินคนเป็นประจำ จึงถูกจำกัดบริเวณให้อยู่แต่บนเขา และอนุญาตให้ลงได้เพียงวันเดียวเท่านั้น เหนียนจึงมักจะออกอาละวาดในคืนครบรอบ 365 วัน คือ วันที่ฤดูหนาวหมดไป หรือ วันเฉลิมฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลินั่นเอง

แต่สัตว์ตัวนี้กลัวสีแดง ประทัด และแสงไฟที่สว่างไสว ถ้าได้เห็นบ้านไหนประดับตกแต่งด้วยสิ่งของเหล่านี้ก็จะเผ่นหนีไป เมื่อทุกๆ คนผ่านพ้นคืนอันตรายไป เมื่อฟ้าสางแล้ว จึงออกจากบ้านมากล่าวคำอวยพรกันและกันอย่างมีความสุข เป็นที่มาให้คืนเปลี่ยนผ่านฤดูกาลอย่างตรุษจีนมีการเฉลิมฉลองกันนั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ วันตรุษจีนจึงมีการเฉลิมฉลอง 3 วัน คือ วันจ่าย, วันไหว้ และ วันเที่ยว คือ

  • วันจ่าย (ก่อนสิ้นปี) วันที่ผู้มีเชื้อสายจีนจะไปซื้ออาหาร ผลไม้ เครื่องเซ่นไหว้มาเตรียมพร้อมเอาไว้ก่อน
  • วันไหว้ (สิ้นปี) วันของการไหว้เทพเจ้า บรรพบุรุษ และผีเร่ร่อน ถือเป็นการขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองมาตลอดทั้งปี และขอบคุณบรรพบุรุษ โดยคนจีนมีความเชื่อตามขงจื๊อที่ถือว่าบรรพบุรุษมีความสำคัญ การกตัญญูต่อบรรพบุรุษเป็นสิ่งที่ต้องกระทำในทุกโอกาส ที่สำคัญเมื่อจัดพิธีไหว้ทั้งที การอุทิศบุญกุศลให้กับวิญญาณเร่ร่อนยังถือเป็นโอกาสสร้างบุญกุศลอย่างต่อเนื่อง เป็นสิริมงคลชีวิตให้กับตัวเอง และยังเป็นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้พวกเขาพ้นทุกข์ได้ด้วย ด้วยเหตุนี้ปราชญ์ชาวจีนสมัยก่อนจึงมักจัดพิธีไหว้ให้มีทั้งการไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ และผีเร่ร่อนไร้ญาติด้วยนั่นเอง
  • วันเที่ยว (ปีใหม่) วันที่ทุกคนจะพากันแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสวยงาม ออกไปท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ หรือไปไหว้ญาติผู้ใหญ่เพื่อขอพร รวมถึงงดการทำบาปทั้งปวง เพราะถือว่าเป็นวันแห่งสิริมงคล

“สารทจีน-เช็งเม้ง-ตรุษจีน” ต่างกันอย่างไร

จากข้อมูลทั้งหมดจะเห็นได้ว่า ใน"วันสารทจีน"นั้นจะเป็นการไหว้บรรพบุรุษที่บ้านในช่วงวันตามความเชื่อของจีนที่ว่าประตูของทั้ง 3 โลกจะเปิด โดยจะมีการไหว้เจ้าที่เพื่อขอบคุณที่ท่านคอยช่วยปกป้องดูแล และไหว้บรรพบุรุศเพื่อรำลึกถึงพวกท่านที่ล่วงลับไปแล้วและอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้ผีไร้ญาติ

“เทศกาลสารทจีน” คืออะไร สำคัญอย่างไรกับลูกหลานชาวจีน

ขณะที่"วันเช็งเม้ง"จะเป็นการเดินทางไปไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน ซึ่งเราสามารถเลือกเวลาเดินทางไปได้ในช่วงกลางเดือนมีนาคมไปจนถึงต้นเมษายน โดยจะมีการไหว้เทพเจ้า เพื่อขอบคุณที่ท่านคอยช่วยดูแลผืนดิน และไหว้บรรพบุรุษ ด้วยอาหารและข้าวของเครื่องใช้จำเป็นเสมือนให้พวกท่านได้ไปใช้ในโลกอื่น

ย้อนตำนาน “วันเช็งเม้ง” ตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน อะไรที่ยังทำหรือยกเลิกแล้ว

ส่วน วันตรุษจีน เป็นการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ ที่จะมีการไหว้ทั้งเทพเจ้าและบรรพบุรุษเช่นเดียวกับวันสารทจีนและวันเช็งเม้ง แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองมาตลอดทั้งปีและขอบคุณบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผีไร้ญาติ ที่ไม่มีใครกรวดน้ำทำบุญให้

“ตรุษจีน 2566” วันจ่าย วันไหว้ วันเที่ยว ตรงกับวันไหน อะไรที่ไม่ควรทำ

สาเหตุที่พิธีต้องมีทั้ง “การไหว้เจ้า-บรรพบุรุษ-ผีเร่ร่อน”

แต่ทำไมถึงมีการทำพิธีกรรมที่คล้ายคลึงกัน อย่างการไหว้เทพเจ้า บรรพบุรุษ และผีเร่ร่อนนั้น เนื่องจากว่า การไหว้เทพเจ้า เปรียบเสมือนการขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกปรองคุ้มครอง ดูแล หรือ ปกป้องคุ้มครองผืนดิน

ขณะเดียวกัน การไหว้บรรพบุรุษ ความเชื่อตามขงจื๊อถือว่า บรรพบุรุษมีความสำคัญ การกตัญญูต่อบรรพบุรุษจึงเป็นสิ่งที่ต้องกระทำในทุกโอกาส

และ การไหว้ผีเร่ร่อน ถือเป็นโอกาสสร้างบุญกุศลอย่างต่อเนื่องหลังจากที่เราไหว้เทพเจ้าและไหว้บรรพบุรุษแล้ว นอกจากจะเป็นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้พวกเขาพ้นทุกข์ ยังเป็นการสอนให้รู้จักแบ่งปันไปในตัวได้ด้วย

ด้วยเหตุนี้ปราชญ์ชาวจีนสมัยก่อนจึงมักจัดพิธีไหว้ให้มีทั้งการไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ และผีเร่ร่อนไร้ญาติด้วยนั่นเองคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ขอบคุณข้อมูลจาก:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ภาพจาก : PPTV

9 วัดจีนยอดนิยมในกรุงเทพ ไหว้เทพขอพร เสริมมงคลรับเทศกาลกินเจ

“หมี่ซั่ว” หรือฉางโซ่วเมี่ยน เมนูอายุยืน อาหารมงคลของชาวจีน

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

By admin